ประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน

ผ่านมาเกือบห้าเดือนแล้วที่ปัญหาไข้ไวรัสได้ระบาดเข้าสู่โลกของเราและประเทศไทยของเรา ซึ่งจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นได้เห็นชัดเหลือเกินว่า โลกหลังโควิด19 นั้นจะเป็นโลกที่มีการพลิกโฉมครั้งใหญ่ เป็นการปรับเปลี่ยนทั้งเชิงโครงสร้างและพฤติกรรมแบบภาคบังคับ ก่อให้เกิดโลกที่ผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น ซึ่งการกระทำของบุคคลหนึ่งอาจส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้อื่น

ไม่มากก็น้อย จนอาจกล่าวได้ว่า จากนี้เป็นต้นไปผู้คนในโลกใบนี้สุขก็จะสุขด้วยกัน ทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน เพราะเรากำลังดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่ไร้สมดุล และเป็นความไร้สมดุลในสภาวะที่พวกเราต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น เป็นปฐมบทของความไร้เสถียรภาพความไม่มั่นคงปลอดภัยและความขัดแย้งที่รุนแรงที่สะท้อนผ่านความ เสี่ยงและภัยคุมคาม จนกระทั่งก่อให้เกิดเป็นวิกฤติโลกในที่สุด

และประเทศไทยที่กำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นับจากนี้ไป ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆจนทำให้ปัญหาเดิมที่มีอยู่เพิ่มความซับซ้อนและทวีความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาการเรียนรู้ และความเหลื่อมล้ำทางด้านโอกาส รายได้และทรัพย์สิน ดังนั้น การปฏิรูปประเทศเชิงโครงสร้างในโลกหลังโควิด ตั้งอยู่บนหลักคิดสำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ 

-อันดับแรก สร้างความเข็มแข็งจากภายใน เพื่อเชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก

-อันดับสอง เดินหน้าไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

-อันดับสาม หลักเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

เพราะในโลกหลังโควิด การขับเคลื่อนที่สมดุลตามหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้พวกเราสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ให้กับประเทศและประชาคมโลก และจะสะท้อนผ่านการรักษ์โลก การเติบโตที่ยั่งยืน ความมั่นคั่งที่แบ่งปันกัน และสันติภาพที่เกิดขึ้นอย่างถาวร ซึ่งหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกินที่พอเพียงนั้น มุ่งเน้นการขับเคลื่อนที่สมดุลใน 4 มิติ ซึ่งประกอบไปด้วย 

ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไร ผลตอบแทนจากการลงทุน อัตราการเติบโต และความพึงพอใจของผู้บริโภค

ความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในสังคม ซึ่งจะครอบคลุมประเด็นในเรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงาน สิทธิมนุษยชน ผลกระทบต่อชุมชนและความรับผิดชอบต่อสังคม

การรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยจะสะท้อนผ่านประเด็นในเรื่องทรัพยากรและพลังงานที่ใช้ ในการบริหารจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต คุณภาพน้ำและอากาศ ความน่าเชื่อถือของห่วงโซ่อุปทาน และการดำเนินตามมาตรฐานที่กำหนด

ศักยภาพและคุณค่าของมนุษย์ เน้นในเรื่องการตระหนักในคุณค่ามนุษย์ ศักยภาพและการลงทุนในมนุษย์ ซึ่งจะมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างมูลค่า

ซึ่งการขับเคลื่อนทั้งสี่อย่างนี้ จะช่วยพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติได้เป็นอย่างดี

 

 

สนับสนุนเรื่องราวโดย  ทางเข้า bk8